1. |
ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ |
2. |
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจาก
ความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย |
3. |
ผู้ป่วยที่มาขอรับบริการด้านสุขภาพ มีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจน
จากผู้ ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจยินยอม
หรือไม่ยินยอมให้ ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบ
ด่วนหรือจำเป็น |
4. |
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตราถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบ
วิชาชีพด้านสุขภาพโดย ทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือ
หรือไม่ |
5. |
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
|
6. |
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
และมีสิทธิในการขอเปลี่ยน ผู้ให้บริการและสถานบริการได้ |
7. |
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด
เว้นแต่จะได้รับความ ยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
|
8. |
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการวิจัยของผู้ประกอบ
วิชาชีพด้านสุขภาพ |
9. |
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อ
ร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูล ดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมินสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
|
10 |
บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์
์ผู้บกพร่องทางกาย หรือจิตซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้ |