 |
|
 |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
|
เมื่อ วันศุกร์ 02 กันยายน 2005 - 13:10 ::: ผู้บันทึก: Admin ::: 5273 คนอ่าน
|
|
|
ใส่ "หมวกกันน็อค" มาตรฐานให้เด็ก ลดสถิติเสี่ยงตาย-พิการจากเดินทางไปเรียน
นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ OSK98-4=94 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและ ป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี หนึ่งในทีมนักวิจัยเด็กกับความปลอดภัย ภายใต้โครงการเด็ก เยาวชนและครอบครัว ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปี อุบัติเหตุจราจรเป็นเหตุให้เด็กเสียชีวิตเฉลี่ยกว่า 900 ราย จัดเป็นสาเหตุนำการตายอันดับสองในเด็ก
นพ.อดิศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคเป็นนวัตกรรมเดียวที่มีไว้ ต่อสู้กับการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ สามารถลดการตายจากอุบัติเหตุลงได้ร้อยละ 29 และลดการบาดเจ็บที่ศีรษะลงได้ร้อยละ 40 ในปัจจุบันมีหมวกกันน็อคสำหรับเด็กที่ได้มาตรฐานใน ท้องตลาดให้พ่อแม่ได้ซื้อหามาใช้แล้ว ตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2548 หาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์ และศูนย์การค้าทั่วไป หมวกดังกล่าวมีอย่างน้อย 3 ขนาด คือ ขนาดเล็กสุดมีเส้นรอบวงใน 500 มิลลิเมตร (มม.) สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี ขนาด ขนาดกลาง 530-550 มม. สำหรับอายุ 6-12 ปี และขนาด 570-580 มม. สำหรับเด็กอายุมากกว่า 12 ปี พ่อแม่จึงควรเลือกซื้อให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางสำหรับเด็กมากที่สุด
"หมวกกันน็อคสำหรับเด็กที่ดีต้องใส่ได้พอดีศีรษะ มีสายรัดใต้คางที่ดีไม่หลุดง่าย เปลือกนอกมีความแข็งแรงป้องกันแรงจากการกระแทกได้ น้ำหนักหมวกก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นคอของเด็กยังไม่แข็งแรง หมวกที่หนักเกินไปจะทำให้เกิดการหักของกระดูกต้นคอ เมื่อเกิดการชนกระแทก และพยายามดูเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วย (มอก.) ที่สำคัญการใส่หมวกกันน็อคให้เด็กก็เพื่อป้องกันศีรษะน็อคกับพื้น ไม่ให้สมองไหลออก มิใช่มีหมวกแต่ไม่ใส่ จะหยิบใส่ก็เมื่อกลัวตำรวจน็อค นั่นเป็นวิธีคิดที่ผิด
นพ.อดิศักดิ์กล่าวอีกว่า แม้ว่าจะมีหมวกกันน็อคสำหรับเด็กแล้วก็ตาม หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงให้เด็กเลิกเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ครูที่ได้เห็นพ่อแม่กับเด็กขี่หรือซ้อนจักรยานยนต์ โดยไม่ใส่หมวกนิรภัยทุกเช้าควรตักเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองเหล่านั้นด้วย เพราะจากการศึกษาเรื่องการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียน 8,264 ราย ในโรงเรียน 5 แห่ง ในกรุงเทพฯ พบว่า ร้อยละ 19 หรือจำนวน 1,562 ราย เดินทางมาโดยรถจักรยานยนต์ ในจำนวนนี้ 36.6 พ่อแม่ปล่อยให้ลูกนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างมา โดยร้อยละ 85 เด็กไม่ได้ใส่หมวกกันน็อค และร้อยละ 3.5 ในจำนวนดังกล่าว เคยประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์มาก่อน
"สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง " คือ ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ขับมอเตอร์ไซด์เพียง ลำพังเนื่องจากยังมีความสามารถในการควบคุมยานพาหนะที่มีความเร็วไม่เพียงพอ และการตัดสินใจในภาวะคับขันก็ยังไม่ดีพอเช่นกันด้วย" นพ.อดิศักดิ์กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 16 เมษายน 2548
|
|
 |
|
 |
| |
 |
|
 |
|
| |
|