 |
|
 |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
|
เมื่อ วันจันทร์ 10 เมษายน 2006 - 10:29 ::: ผู้บันทึก: prweb ::: 2903 คนอ่าน
|
|
|
ร้อนนี้อย่าเครียด
รศ.นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร จากภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้โรคปวดศีรษะไมเกรน แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นอาการที่สร้างความรำคาญและทุกข์ทรมาน
ลักษณะเด่นของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่สังเกตได้ คือ อาการปวดตุ้บๆ บริเวณขมับ หรือปวดลึกๆ บริเวณเบ้าตา เหมือนจังหวะหัวใจเต้น ซึ่งจะปวดในระดับปานกลางถึงปวดมาก เป็นเวลาหลายชั่วโมง-วัน และในคนไข้บางรายอาจมีอาการนำ เช่น เห็นแสงแวบๆ เป็นสีเหลือง หรือเป็นเส้นหยัก หรืออาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
สาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองแล้วทําให้หลอดเลือดสมองมีการขยายตัวมากกว่าปกติ และยังมีความเกี่ยวพันกับอารมณ์ เช่น ความรู้สึกหดหู่ ผิดหวัง ความเครียด นอกจากนี้ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อนและแสงแดดจัด ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้อาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบ
ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองว่าอะไรที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบ และพยายามปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมให้ห่างจากตัวกระตุ้นที่ก่อให้อาการไมเกรนกำเริบเสีย ก็จะช่วยลดความถี่ของไมเกรนได้
สำหรับปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนได้ง่าย ได้แก่
ความเหน็ดเหนื่อย ความผันผวนของภาวะทางอารมณ์ ความวิตกกังวล ความโกรธ ตื่นเต้นตกใจ ความเครียด ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
สภาวะแวดล้อม เช่น ภาวะอากาศที่ผันผวน เช่น อากาศร้อนจัด-เย็นจัด การตากแดด และแสงจ้าๆ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ รวมถึงกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นหอมจัด เหม็นจัด กลิ่นเครื่องเทศ
ภาวะโภชนาการ เช่น การมีน้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะการอดอาหารหรือการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรส
ภาวะฮอร์โมน เช่น ภาวะรอบเดือนในผู้หญิง การตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิด
การพักผ่อน เช่น การนอนน้อยไป นอนมากไป นอนไม่เป็นเวลา หรือภาวการณ์ปรับเวลาอย่างกะทันหัน (อาการเจ็ตแลค)
ไมเกรนเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่สามารถป้องกันและลดความถี่ของการปวดไมเกรนได้ด้วยยาแก้ปวดไมเกรน
ข้อมูลข่าว :
หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 08 เมษายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10255 หน้า 5 คอลัมน์ ส่องโรคไขสุขภาพ |
|
 |
|
 |
| |
 |
|
 |
|
| |
|