 |
|
 |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
|
เมื่อ วันพฤหัสบดี 10 มิถุนายน 2004 - 15:30 ::: ผู้บันทึก: Admin ::: 119374 คนอ่าน
|
|
|
ภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอ และมีข่าวการเสียชีวิตเป็นครั้งคราว ซึ่งแต่ละครั้ง ทำให้เกิดความเสียใจต่อผู้ปกครอง ผู้ดูแล และประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติในการป้องกัน ดูแล รักษาผู้ป่วยเด็กเหล่านี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญในปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กขึ้น
โดยเริ่มโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 และตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กที่สำลักวัตถุแปลกปลอมจากทุกสาขา ได้แก่ กุมารแพทย์ รังสีแพทย์ วิสัญญีแพทย์ โสตศอนาสิกแพทย์ กุมารศัลยแพทย์และพยาบาลจากสถาบันต่างๆ คณะกรรมการได้มีการประชุมปรึกษาหารือและร่วมกันดำเนินการจัดทำแนวทางการดูแลรักษาและป้องกันภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นแนวทางที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเฉพาะทางและโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงต่างๆ
บัดนี้ คณะกรรมการดำเนินงานฯ ได้จัดทำแนวทางการดูแลรักษาภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กเสร็จสมบูรณ์ จึงได้จัดพิมพ์หนังสือแนวทางการดูแลรักษาภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กขึ้นเพื่อเผยแพร่
นายแพทย์ เสรี ตู้จินดา
อธิบดีกรมการแพทย์
เอกสารAcrobat แนวทางการดูแลรักษาภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก 8 MB
เอกสารเวิร์ด แนวทางการดูแลรักษาภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก 34 MB
วิดีทัศน์(real vdo) : การช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับเด็กที่สำลักวัตถุแปลกปลอม 12 MB
วิดีทัศน์(mpeg) : การช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับเด็กที่สำลักวัตถุแปลกปลอม 52 MB
โปรแกรม Acrobat Reader6 | Real One Player |
|
 |
|
 |
| |
 |
|
 |
|
| |
|