Login
Main Menu
หน่วยงาน
เป็นเรื่องน่าตกใจทีเดียว เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าภาวะอ้วน เป็นสาเหตุของการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คิดเป็นสัดส่วน 2-6% ของงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศ มีการสำรวจพบว่า ในปี 2544 เพียงปีเดียว สหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากภาวะอ้วนถึง 4 ล้านล้านบาท!ส่วนในประเทศไทย จากการสำรวจในปี 2543 ระบุว่า คนไทยที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีเส้นรอบพุงเกินเกณฑ์ที่กำหนด (ผู้หญิง 80 เซนติเมตรขึ้นไป และผู้ชาย 90 เซนติเมตรขึ้นไป) ถึง 9.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นโรคอ้วนลงพุงถึง 6 ล้านคนตัวเลขหลักล้านแบบนี้เห็นทีเรื่อง *อ้วน* คงไม่ใช่เรื่องเล่นเป็นแน่กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงร่วมมือกันตั้ง *เครือข่ายคนไทยไร้พุง* ขึ้น *ให้คนไทยลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไปและลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย เป้าหมายเพื่อสุขภาพที่ดี*มี นพ.ฆนัท ครุธกูล กรรมการและรองเลขานุการเครือข่ายคนไทยไร้พุง เป็นตัวแทนมาเล่าให้รับรู้หมอฆนัทบอกว่า ปัจจุบันคนไทยประสบปัญหาภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา วัดว่าอ้วนหรือไม่อ้วน ใช้ "ดัชนีมวลกาย" (Body Mass Index - BMI) เป็นหลัก นำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร) ผลออกมาถ้าอยู่ระหว่าง 23-24.9 ถือว่า น้ำหนักเกิน 25-34.9 ถือว่า อ้วน และตั้งแต่ 35 ขึ้นไปถือว่า อ้วนรุนแรงรอบพุงยิ่งเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ไขมันก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แล้วจะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดเป็นโรคอ้วนลงพุง เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ อย่าง น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ "รอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตร จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 3-5 เท่า เพราะฉะนั้นยิ่งพุงใหญ่ยิ่งตายเร็ว" หมอฆนัทบอกหมอคนเดิมแนะถึงวิธีลดน้ำหนักและลดรอบพุงอย่างปลอดภัย สไตล์ "ใครๆก็ทำได้" ว่า ต้องยึดหลัก *3 อ* คือ *อาหาร* *ออกกำลังกาย* และ *อารมณ์*เรื่องของอาหาร ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร จากเดิมที่รับประทานอาหารจนเกินอิ่มเพราะเสียดายอาหารที่เหลือ ให้เปลี่ยนเป็นรับประทานแต่พออิ่ม อาจลดเหลือเพียง 1 ใน 3 ส่วนจากเดิมก็ได้ จากเคยชอบบริโภคน้ำหวาน น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เปลี่ยนเป็นดื่มน้ำเปล่า รสชาติอาจไม่ถูกปาก แต่ถูกกับสุขภาพอย่างแน่นอน งดขนมหวาน ของทอด และของมัน เพราะทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายเกินจำเป็น งดการกินจุบกินจิบนอกจากนี้ ควรบริโภคผลไม้อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่เกิน 10-15 คำต่อมื้อ บริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมันที่สุกแล้ว บริโภคปลา ไข่ขาว เต้าหู้ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทุกวัน รับประทานผักประเภทใบและก้านผักบ่อยๆ ดื่มนมพร่องหรือขาดมันเนยวันละ 1-2 แก้ว เลือกทานอาหารที่เตรียมโดยการต้ม นึ่ง ย่าง แทนอาหารทอดหรือผัด"หลักสำคัญคือห้ามอดอาหารอย่างเด็ดขาด การอดอาหารไม่ช่วยให้น้ำหนักลดลงในระยะยาว แถมยังเป็นผลเสียต่อสุขภาพเสียอีก ควรลดปริมาณอาหารแทน และเคี้ยวอาหารช้าๆ ดื่มน้ำบ่อยๆระหว่างรับประทานอาหาร" นพ.ฆนัท แนะปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้วก็ต้องทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายด้วยถ้าต้องการเผาผลาญไขมันส่วนเกินควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ โดยเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสุขภาพ อายุ น้ำหนัก เช่น เดินไปปากซอยแทนการนั่งรถ เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ ล้างรถ กวาดใบไม้ ทำความสะอาดบ้าน เป็นต้นตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายอย่างชัดเจนว่าเพื่ออะไร พร้อมกับทำสมุดบันทึกเป็นการเตือนตัวเองให้ออกกำลังกาย สุดท้ายเป็นเรื่องของอารมณ์ ต้องสกัดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หิว ด้วยการพยายามหลีกเลี่ยงการไปจุดที่มีอาหารการกินหลากหลาย สะกดใจไม่ให้บริโภคเกินปริมาณที่จำเป็น สะกิดให้คนรอบข้างช่วยเหลือด้วยการทำความเข้าใจกับครอบครัวและคนรอบข้างถึงความจำเป็นในการลดน้ำหนัก เพื่อให้ช่วยเป็นกำลังใจและให้คำแนะนำในการลดน้ำหนักช่วงแรกอาจรู้สึกหงุดหงิด อยากรับประทานก็ทำไม่ได้อย่างใจ แต่ถ้ามีวินัยในตัวเอง อดทนสักนิด เดี๋ยวก็ผ่านช่วงนั้นไปได้"อัตราการลดน้ำหนักที่เหมาะสมอยู่ที่ 0.5-1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือเดือนละ 2-4 กิโลกรัม ถ้าน้ำหนักไม่ลดลงเลยหรือว่าลดน้อยมากให้ทบทวนว่าได้รับประทานอาหารอย่างเหมาะสมหรือไม่ ออกกำลังกายพอเหมาะหรือเปล่า "ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอายุด้วย คนที่มีน้ำหนักปกติเมื่ออายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น หากน้ำหนักไม่ลดและไม่เพิ่มหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ แล้ว ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ" นพ.ฆนัทอธิบาย แถมบอกด้วยว่าวิธี 3 อ.เป็นการลดน้ำหนักแบบยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากกว่าการเดินเข้าสถาบันลดน้ำหนัก หากใครปฏิบัติได้จนเคยชินก็จะเป็นเรื่องดี โอกาสที่น้ำหนักเพิ่มก็มีน้อยลงทุกอย่างที่ว่ามาทำได้จริงหรือเปล่า...ต้องให้อาสาสมัครที่เริ่มเข้าคอร์สตามหลักสูตรดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ที่ผ่านมาได้เล่าประสบการณ์ส่วนสูง 177 เซนติเมตรกับน้ำหนัก 98 กิโลกรัมพ่วงด้วยรอบเอวเกือบ 40 นิ้ว ทำให้ *ธนันทร์รัฐ เจียมวิจิตร* หนุ่มวัย 25 อึดอัดสุดสุด จนต้องพาตัวเข้ามาร่วมโครงการคนไทยไร้พุงธนันทร์รัฐเล่าว่า อ้วนแล้วทำให้ไม่มั่นใจในตัวเองนัก เวลาซื้อเสื้อผ้าแล้วถูกคนขายทักถึงไซซ์ที่ใหญ่กว่าคนอื่น ความมั่นใจยิ่งหายไปใหญ่"มีกางเกงยีนส์ตัวหนึ่งสวยและอยากได้มาก แต่ไม่มีไซซ์เราเลย ประกอบกับอยากให้ตัวเองมีสุขภาพดี อายุยืนยาว อยู่กับพ่อแม่และแฟนได้นานขึ้น จึงตัดสินใจลดน้ำหนัก" ธนันทร์รัฐพูดถึงแรงจูงใจวันแรกแพทย์จะตรวจสุขภาพ วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และตรวจปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีเท่าใด ซึ่งแพทย์จะแนะนำหลักปฏิบัติในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย โดยให้อาสาสมัครนำไปปฏิบัติด้วยตัวเองที่บ้าน ผ่านไป 1 เดือนแพทย์จะนัดตรวจร่างกาย ดูว่าอาสาสมัครแต่ละคนลดน้ำหนักได้กี่กิโลกรัม ช่วงแรกที่ต้องควบคุมอาหาร ธนันทร์รัฐออกอาการหงุดหงิดพอควร เพราะเพื่อนชอบชวนไปรับประทานหมูกระทะ จึงใช้วิธีว่าวันไหนที่จะไปรับประทานหมูกระทะ วันนั้นทั้งวันจะรับประทานให้น้อยที่สุดหรืออดไปเลย แล้วมารับประทานรวบตอนไปร้านหมูกระทะ ธนันทร์รัฐรู้ว่าไม่ใช่วิธีที่ดี แต่ระยะแรกอดไม่ได้ หลังๆ จึงเปลี่ยนวิธีการทานอาหารใหม่ ด้วยการค่อยๆ ลดปริมาณอาหาร เพราะถ้าลดฮวบฮาบไปเลยจะหิวเร็วและอยากทานมากขึ้น ทานอาหารให้ตรงตามมื้อ ตรงตามเวลา สำหรับมื้อเย็นจะทานไม่เกิน 3 ทุ่ม"ทานอาหารเสร็จก็นอนเลย ร่างกายไม่ได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานตรงนั้น เป็นสาเหตุทำให้อ้วน ผมเลยตั้งใจว่าจะทานอาหารเย็นตอน 5 โมงเย็น และออกกำลังกายตอน 1 ทุ่มโดยการปั่นจักรยานและวิ่ง 1 ชั่วโมง ออกกำลังกายเสร็จก็พักให้หายเหนื่อยแล้วดื่มน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องดื่มเกลือแร่เพราะให้ความหวานมาก" ธนันทร์รัฐเล่าถึงวิธีส่วนตัวปฏิบัติอยู่ 3 เดือน ถึงวันนี้ธนันทร์รัฐเป็นเจ้าของน้ำหนัก 80 กิโลกรัม รอบเอวเหลือ 35 นิ้ว และมีความสุขกับการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยด้วยคำแนะนำของแพทย์*วรรณา พูลสุข* แม่บ้านวัย 50 เป็นอาสาสมัครอีกคนของโครงการนี้วรรณาเล่าว่า แพทย์บอกว่าเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน เพราะมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จึงแนะนำให้ลดน้ำหนักด้วยการควบคุมปริมาณอาหารและออกกำลังกาย"รู้สึกว่าตัวเองอ้วน เพราะสูงแค่ 156 เซนติเมตร แต่หนักตั้ง 67 กิโลกรัม เวลาเดินปวดเข่าปวดหลังตลอด และยังเป็นโรคหอบหืดด้วย ตอนกลางคืนก็นอนไม่ค่อยหลับ มักไอและปวดเมื่อยตามตัว"หมอบอกให้ลดน้ำหนักและแนะนำวิธีให้ เราก็ปฏิบัติตาม เดินวันละ 1 ชั่วโมงเป็นการออกกำลังกาย แรกๆ เมื่อยบ้าง ไปๆ มาๆ เริ่มชิน เริ่มสนุก วันไหนไม่เดินแล้วนอนไม่หลับ ทำอยู่ 3 เดือนสุขภาพดีขึ้น ไม่ปวดเข่าปวดหลังแล้ว อาการหอบหืดหายไป น้ำหนักลดลงเหลือ 60 กิโลกรัม อารมณ์แจ่มใสขึ้น"พอเพื่อนบ้านเห็นก็สนใจ เลยชวนมาเดินด้วยกัน ตอนนี้กลายเป็นว่าตอนเย็นๆ เดินเป็นกลุ่มแล้ว เดินไปคุยกันไปเป็นการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านไปด้วย" วรรณาเล่าพร้อมรอยยิ้มบนใบหน้าเห็นแบบนี้แล้ว...ได้เวลาก้มสำรวจพุง เตรียมตัวลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพกันได้หรือยัง ข้อมูลจาก :หนังสือพิมพ์มติชนโดย ศิวพร อ่องศรีวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10630 หน้า 33
วัดว่าอ้วนหรือไม่อ้วน ใช้ "ดัชนีมวลกาย" (Body Mass Index - BMI) เป็นหลัก นำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร) ผลออกมาถ้าอยู่ระหว่าง 23-24.9 ถือว่า น้ำหนักเกิน 25-34.9 ถือว่า อ้วน และตั้งแต่ 35 ขึ้นไปถือว่า อ้วนรุนแรงรอบพุงยิ่งเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ไขมันก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แล้วจะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดเป็นโรคอ้วนลงพุง เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ อย่าง น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ "รอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตร จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 3-5 เท่า เพราะฉะนั้นยิ่งพุงใหญ่ยิ่งตายเร็ว" หมอฆนัทบอกหมอคนเดิมแนะถึงวิธีลดน้ำหนักและลดรอบพุงอย่างปลอดภัย สไตล์ "ใครๆก็ทำได้" ว่า ต้องยึดหลัก *3 อ* คือ *อาหาร* *ออกกำลังกาย* และ *อารมณ์*เรื่องของอาหาร ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร จากเดิมที่รับประทานอาหารจนเกินอิ่มเพราะเสียดายอาหารที่เหลือ ให้เปลี่ยนเป็นรับประทานแต่พออิ่ม อาจลดเหลือเพียง 1 ใน 3 ส่วนจากเดิมก็ได้ จากเคยชอบบริโภคน้ำหวาน น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เปลี่ยนเป็นดื่มน้ำเปล่า รสชาติอาจไม่ถูกปาก แต่ถูกกับสุขภาพอย่างแน่นอน งดขนมหวาน ของทอด และของมัน เพราะทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายเกินจำเป็น งดการกินจุบกินจิบนอกจากนี้ ควรบริโภคผลไม้อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่เกิน 10-15 คำต่อมื้อ บริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมันที่สุกแล้ว บริโภคปลา ไข่ขาว เต้าหู้ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทุกวัน รับประทานผักประเภทใบและก้านผักบ่อยๆ ดื่มนมพร่องหรือขาดมันเนยวันละ 1-2 แก้ว เลือกทานอาหารที่เตรียมโดยการต้ม นึ่ง ย่าง แทนอาหารทอดหรือผัด"หลักสำคัญคือห้ามอดอาหารอย่างเด็ดขาด การอดอาหารไม่ช่วยให้น้ำหนักลดลงในระยะยาว แถมยังเป็นผลเสียต่อสุขภาพเสียอีก ควรลดปริมาณอาหารแทน และเคี้ยวอาหารช้าๆ ดื่มน้ำบ่อยๆระหว่างรับประทานอาหาร" นพ.ฆนัท แนะปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้วก็ต้องทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายด้วยถ้าต้องการเผาผลาญไขมันส่วนเกินควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ โดยเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสุขภาพ อายุ น้ำหนัก เช่น เดินไปปากซอยแทนการนั่งรถ เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ ล้างรถ กวาดใบไม้ ทำความสะอาดบ้าน เป็นต้นตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายอย่างชัดเจนว่าเพื่ออะไร พร้อมกับทำสมุดบันทึกเป็นการเตือนตัวเองให้ออกกำลังกาย สุดท้ายเป็นเรื่องของอารมณ์ ต้องสกัดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หิว ด้วยการพยายามหลีกเลี่ยงการไปจุดที่มีอาหารการกินหลากหลาย สะกดใจไม่ให้บริโภคเกินปริมาณที่จำเป็น สะกิดให้คนรอบข้างช่วยเหลือด้วยการทำความเข้าใจกับครอบครัวและคนรอบข้างถึงความจำเป็นในการลดน้ำหนัก เพื่อให้ช่วยเป็นกำลังใจและให้คำแนะนำในการลดน้ำหนักช่วงแรกอาจรู้สึกหงุดหงิด อยากรับประทานก็ทำไม่ได้อย่างใจ แต่ถ้ามีวินัยในตัวเอง อดทนสักนิด เดี๋ยวก็ผ่านช่วงนั้นไปได้"อัตราการลดน้ำหนักที่เหมาะสมอยู่ที่ 0.5-1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือเดือนละ 2-4 กิโลกรัม ถ้าน้ำหนักไม่ลดลงเลยหรือว่าลดน้อยมากให้ทบทวนว่าได้รับประทานอาหารอย่างเหมาะสมหรือไม่ ออกกำลังกายพอเหมาะหรือเปล่า "ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอายุด้วย คนที่มีน้ำหนักปกติเมื่ออายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น หากน้ำหนักไม่ลดและไม่เพิ่มหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ แล้ว ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ" นพ.ฆนัทอธิบาย แถมบอกด้วยว่าวิธี 3 อ.เป็นการลดน้ำหนักแบบยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากกว่าการเดินเข้าสถาบันลดน้ำหนัก หากใครปฏิบัติได้จนเคยชินก็จะเป็นเรื่องดี โอกาสที่น้ำหนักเพิ่มก็มีน้อยลงทุกอย่างที่ว่ามาทำได้จริงหรือเปล่า...ต้องให้อาสาสมัครที่เริ่มเข้าคอร์สตามหลักสูตรดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ที่ผ่านมาได้เล่าประสบการณ์ส่วนสูง 177 เซนติเมตรกับน้ำหนัก 98 กิโลกรัมพ่วงด้วยรอบเอวเกือบ 40 นิ้ว ทำให้ *ธนันทร์รัฐ เจียมวิจิตร* หนุ่มวัย 25 อึดอัดสุดสุด จนต้องพาตัวเข้ามาร่วมโครงการคนไทยไร้พุงธนันทร์รัฐเล่าว่า อ้วนแล้วทำให้ไม่มั่นใจในตัวเองนัก เวลาซื้อเสื้อผ้าแล้วถูกคนขายทักถึงไซซ์ที่ใหญ่กว่าคนอื่น ความมั่นใจยิ่งหายไปใหญ่"มีกางเกงยีนส์ตัวหนึ่งสวยและอยากได้มาก แต่ไม่มีไซซ์เราเลย ประกอบกับอยากให้ตัวเองมีสุขภาพดี อายุยืนยาว อยู่กับพ่อแม่และแฟนได้นานขึ้น จึงตัดสินใจลดน้ำหนัก" ธนันทร์รัฐพูดถึงแรงจูงใจวันแรกแพทย์จะตรวจสุขภาพ วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และตรวจปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีเท่าใด ซึ่งแพทย์จะแนะนำหลักปฏิบัติในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย โดยให้อาสาสมัครนำไปปฏิบัติด้วยตัวเองที่บ้าน ผ่านไป 1 เดือนแพทย์จะนัดตรวจร่างกาย ดูว่าอาสาสมัครแต่ละคนลดน้ำหนักได้กี่กิโลกรัม ช่วงแรกที่ต้องควบคุมอาหาร ธนันทร์รัฐออกอาการหงุดหงิดพอควร เพราะเพื่อนชอบชวนไปรับประทานหมูกระทะ จึงใช้วิธีว่าวันไหนที่จะไปรับประทานหมูกระทะ วันนั้นทั้งวันจะรับประทานให้น้อยที่สุดหรืออดไปเลย แล้วมารับประทานรวบตอนไปร้านหมูกระทะ ธนันทร์รัฐรู้ว่าไม่ใช่วิธีที่ดี แต่ระยะแรกอดไม่ได้ หลังๆ จึงเปลี่ยนวิธีการทานอาหารใหม่ ด้วยการค่อยๆ ลดปริมาณอาหาร เพราะถ้าลดฮวบฮาบไปเลยจะหิวเร็วและอยากทานมากขึ้น ทานอาหารให้ตรงตามมื้อ ตรงตามเวลา สำหรับมื้อเย็นจะทานไม่เกิน 3 ทุ่ม"ทานอาหารเสร็จก็นอนเลย ร่างกายไม่ได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานตรงนั้น เป็นสาเหตุทำให้อ้วน ผมเลยตั้งใจว่าจะทานอาหารเย็นตอน 5 โมงเย็น และออกกำลังกายตอน 1 ทุ่มโดยการปั่นจักรยานและวิ่ง 1 ชั่วโมง ออกกำลังกายเสร็จก็พักให้หายเหนื่อยแล้วดื่มน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องดื่มเกลือแร่เพราะให้ความหวานมาก" ธนันทร์รัฐเล่าถึงวิธีส่วนตัวปฏิบัติอยู่ 3 เดือน ถึงวันนี้ธนันทร์รัฐเป็นเจ้าของน้ำหนัก 80 กิโลกรัม รอบเอวเหลือ 35 นิ้ว และมีความสุขกับการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยด้วยคำแนะนำของแพทย์*วรรณา พูลสุข* แม่บ้านวัย 50 เป็นอาสาสมัครอีกคนของโครงการนี้วรรณาเล่าว่า แพทย์บอกว่าเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน เพราะมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จึงแนะนำให้ลดน้ำหนักด้วยการควบคุมปริมาณอาหารและออกกำลังกาย"รู้สึกว่าตัวเองอ้วน เพราะสูงแค่ 156 เซนติเมตร แต่หนักตั้ง 67 กิโลกรัม เวลาเดินปวดเข่าปวดหลังตลอด และยังเป็นโรคหอบหืดด้วย ตอนกลางคืนก็นอนไม่ค่อยหลับ มักไอและปวดเมื่อยตามตัว"หมอบอกให้ลดน้ำหนักและแนะนำวิธีให้ เราก็ปฏิบัติตาม เดินวันละ 1 ชั่วโมงเป็นการออกกำลังกาย แรกๆ เมื่อยบ้าง ไปๆ มาๆ เริ่มชิน เริ่มสนุก วันไหนไม่เดินแล้วนอนไม่หลับ ทำอยู่ 3 เดือนสุขภาพดีขึ้น ไม่ปวดเข่าปวดหลังแล้ว อาการหอบหืดหายไป น้ำหนักลดลงเหลือ 60 กิโลกรัม อารมณ์แจ่มใสขึ้น"พอเพื่อนบ้านเห็นก็สนใจ เลยชวนมาเดินด้วยกัน ตอนนี้กลายเป็นว่าตอนเย็นๆ เดินเป็นกลุ่มแล้ว เดินไปคุยกันไปเป็นการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านไปด้วย" วรรณาเล่าพร้อมรอยยิ้มบนใบหน้าเห็นแบบนี้แล้ว...ได้เวลาก้มสำรวจพุง เตรียมตัวลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพกันได้หรือยัง
ข้อมูลจาก :หนังสือพิมพ์มติชนโดย ศิวพร อ่องศรีวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10630 หน้า 33
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย ต.คลองตาล อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 64120 โทร 055-682030-42 อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน แจ้ง หน่วยกู้ชีพศรีสังวร โทร 1669 หรือ 055-681331