ช่องโหว่ครอบครัวไทย
บทความ / ข่าวสารทั่วไป
วัน: 05 เม.ย 2011 - 15:56
|
เมื่อโลกซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เด็ก ๆ ต้องเผชิญกับแรงเหวี่ยงของโลกสมัยใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
>เมื่อโลกซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เด็ก ๆ ต้องเผชิญกับแรงเหวี่ยงของโลกสมัยใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นหน้าที่พ่อแม่คือผู้สร้างที่จะเตรียมลูกให้มีคุณภาพในอนาคต แต่ทุกวันนี้หลาย ๆ ครอบครัวทำหน้าที่ผู้สร้าง แต่กลับไม่ได้สร้างลูกบนพื้นฐานความเข้าใจ ส่งผลให้เด็กเริ่มเดินหลงทาง และเดินผิดทางกันมากขึ้นแนวโน้มของปัญหาข้างต้น ศ.ดร.นายแพทย์ วิทยา นาควัชระ นักคิด นักวิชาการ และจิตแพทย์ทั่วไป ให้มุมมองผ่านทีมงาน Life & Family ว่า ครอบครัวไทยจำนวนไม่น้อยยังมีช่องโหว่อยู่มาก ซึ่งมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่จะนำเสนอเป็นแง่คิด และข้อเตือนใจดังต่อไปนี้พ่อแม่ไม่รักกันทำเด็กหิวรักพุ่งสูง
ช่องโหว่แรก จิตแพทย์รายนี้บอกว่า เป็นช่องโหว่ใหญ่ที่เกิดจากพ่อแม่ไม่ได้รักกัน จึงไม่สามารถให้ความรักกับลูก ๆ อย่างเต็มที่ ทำให้เด็กป่วยเป็นโรคขาดความรักกันมากขึ้น นำไปสู่การโหยหาความรักที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ ณ ตอนนี้ เด็กจึงระแวงพ่อแม่ และสังคมว่าจะรักเขาจริงหรือไม่ เมื่อระแวงมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นไปได้ที่เด็กจะใจน้อยแสนงอน สะเทือนใจง่าย เจ้าอารมณ์ มีนิสัยอิจฉาริษยา นำไปสู่ปัญหาสังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ก่อนวัยเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงพ่อแม่ที่รักนะแต่ไม่แสดงออก ไม่ชมลูกเพราะกลัวจะเหลิง ตรงนี้อาจทำเด็กเป็นโรคหิวรักได้เช่นกันพ่อแม่รังแกฉัน (ลูก)
พ่อแม่บางคน เมื่อรู้ว่าตัวเองไม่สามารถให้ความรัก หรือเวลากับลูกได้อย่างเต็มที่ จึงมองหาและมอบความรักในทางอื่น และหนึ่งในทางเลือกที่ทำกันจนเคยชินนั้นก็คือ การตามใจอย่างฟุ่มเฟือย เพราะอยากให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ยังรัก และเป็นห่วงอยู่ แต่สุดท้ายผลที่ตามมาคือ พ่อแม่กลายเป็นทาสีบิดา ทาสีมารดา หรือเป็นทาสของลูก ซึ่งการให้ความรักในลักษณะนี้ ทำให้ลูกไม่มีวินัย และไม่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิต"ผมขอยกประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมา 1 เรื่อง ระหว่างคนขอทานขอเงินได้วันละ 100 บาทกับแม่ค้าขายผักสดที่ขายได้วันละ 100 บาท ใครจะมองเห็นคุณค่าของเงินมากกว่ากัน คำตอบมันเห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าต้องเป็นแม่ค้า เพราะอะไร เพราะแม่ค้าตรากตรำทำงานเพื่อให้ได้เงิน เกิดเป็นความภูมิใจ และเห็นคุณค่าของเงิน ในขณะที่คนขอทานบอกว่า วันนี้ฉันได้เงินมาแค่ 100 บาทเอง แสดงให้เห็นว่า เขาคนนั้นไม่เห็นคุณค่าของเงิน เพราะไม่เกิดความภูมิใจ และซาบซึ้งในสิ่งที่ได้มา"ดังนั้น พ่อแม่ที่ตามใจและให้เงินลูกอย่างฟุ่มเฟือย ก็เหมือนกับการให้เงินขอทาน เพราะเงินที่ให้ไม่ได้เกิดนัยยะทางเศรษฐศาสตร์ ลูกจึงไม่เกิดความซาบซึ้งในตัวเงิน ส่งผลให้เด็กจำนวนไม่น้อยมองใกล้ ขาดคุณธรรม และไร้วินัย ดังนั้น การให้เงินลูกต้องมีเงื่อนไข และควรให้ลูกรู้ว่าทำงานแล้วมีคุณค่าจึงให้เงินรุนแรงใส่กันสร้างเด็กสายพันธุ์ดุ
ถึงแม้จะมีหลายฝ่ายให้ความสนใจ และช่วยกันรณรงค์อย่างต่อเนื่อง แต่ความรุนแรงก็ไม่เคยหายไปจากครอบครัว และสังคมไทยเลย โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกาย และอารมณ์ในการแก้ปัญหากับเรื่องส่วนตัว และลูก เป็นไปได้สูงที่เด็กจะซึมซับ และเลียนแบบพฤติกรรมตามอย่างพ่อแม่ ยิ่งสื่อสมัยใหม่ฉายภาพความรุนแรง และความโหดร้ายมากขึ้น ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เด็กก้าวร้าว และใช้ความรุนแรงต่อกันมากขึ้นตามไปด้วย เช่น เด็กกับเด็กเอง หรือลูกกับพ่อแม่ รวมไปถึงศิษย์กับครู"สังคม และครอบครัวทุกวันนี้ เราอยู่กันแบบคนเมาเหล้ากอดคอกันเดิน ดูผิวเผินสนุกสนาน มีความสุขกันดี แต่นั่นหารู้หรือไม่ว่าเรากำลังเดินอย่างคนไม่มีอนาคต เวลาล้ม จะล้มยาว ยิ่งไปกว่านั้น เรามักจะอยู่กันอย่างไม่เจียมตัว และถ่อมตัว เจียมตัวคือ มีอะไรที่น้อยเกินไปก็เจียมตัวว่าเรามีน้อย ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ส่วนถ่อมตัวนั้น อะไรที่เรามีมากอยู่แล้ว ก็ควรลด หรือถ่อมตัวบ้างก็ได้ ไม่ใช่จนแต่อยากอยู่แบบคนรวย หวังอยากได้นั่นอยากได้นี่จนมีหนี้ท่วมตัว ครอบครัวก็จะไม่มีความสุข" จิตแพทย์สรุป
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://imgs.sfgate.com
|
บทความนี้มาจาก Srisangworn Sukhothai Hospital
http://192.168.0.37/
URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://192.168.0.37/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=1500
|